วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ความหมายของ เวชสถิติ จาก สารานุกรม วิกิพีเดีย

เวชสถิติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เวชสถิติ (อังกฤษ: Medical Statistics, อ่านว่า เวด-สะ-ถิ-ติ) หมายถึง สถิติทางการแพทย์ หรือการกระทำกับหลักฐานที่เป็นข้อมูลทางการแพทย์ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพในทางการแพทย์ โดยมีวิธีการกระทำได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูลทางการแพทย์ การนำเสนอข้อมูลทางการแพทย์ การวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์โดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ และการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์มาสรุป และเพื่อใช้ในการจัดทำรายงานทางการแพทย์ การศึกษาวิจัยต่าง ๆ ในทางการแพทย์ [1]

เวชสถิติในความหมายทั่วไปทางการแพทย์

เวชสถิติ (อังกฤษ: Medical Record Librarian, อ่านว่า เวด-สะ-ถิ-ติ) หมายถึง ตำแหน่งพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในงานเวชระเบียน ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดการงานทางด้านเวชระเบียนตามที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ สูงสุดทางด้านเวชระเบียนในสถานบริการสาธารณสุขมอบหมาย โดยงานต่าง ๆ เหล่านั้นอาจเป็นงานห้องบัตร งานสถิติทางการแพทย์ งานให้รหัสโรค งานบันทึกข้อมูลผู้ป่วย งานคัดกรองผู้ป่วย งานด้านคอมพิวเตอร์ หรืองานอื่น ๆ ทางด้านเวชระเบียนที่ได้รับมอบหมาย นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงชื่อโรงเรียนที่ทำการเรียนการสอนทางด้านพื้นฐานเวชระเบียน ซึ่งมีชื่อว่า โรงเรียนเวชสถิติ (อังกฤษ: Medical Record Librarian School) ซึ่งจะมีการเรียนทางด้านเวชระเบียน รหัสโรค สรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์ พื้นฐานทางคลินิก วิธีดำเนินการทางการแพทย์ ศัพท์แพทย์ และสถิติ เป็นวิชาหลัก ต่อมาได้มีการพัฒนาการศึกษาทางด้านเวชสถิติซึ่งจะมีการเรียนที่เปลี่ยนชื่อ ไปเป็น เวชระเบียน โดยมีการเปลี่ยนจากโรงเรียนเวชสถิติเดิมไปเป็นสาขาวิชาเวชระเบียน วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข และมีการศึกษาต่อเนื่องในหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเวชระเบียน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล [2][3][4]

บุคลากรทางด้านเวชสถิติ

  1. นักวิชาการเวชสถิติ
  2. นักเวชสถิติ (ซึ่งอาจมีบางหน่วยงานยังใช้ชื่อตำแหน่ง นักสถิติ ตามที่ ก.พ.กำหนด)
  3. เจ้าพนักงานเวชสถิติ
  4. เจ้าหน้าที่เวชสถิติ

อ้างอิง

  1. ^ แสงเทียน อยู่เถา, เวชสถิติ, มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม, ๒๕๕๑.
  2. ^ แสงเทียน อยู่เถา, ประวัติการเรียนการสอนด้านเวชระเบียน, มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม, ๒๕๕๑.
  3. ^ แสงเทียน อยู่เถา, เวชระเบียน, มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม, ๒๕๕๑.
  4. ^ แสงเทียน อยู่เถา, เวชสถิติ, มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม, ๒๕๕๑.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น