วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555
นโยบายการบริหารงานเวชระเบียน
นโยบายการบริหารงานเวชระเบียน
.............
1.วัตถุประสงค์
- ระบบบันทึกเวชระเบียนมีความสมบูรณ์ถูกต้องตามมาตรฐานการบันทึกเวชระเบียน
- ระบบจัดเก็บเวชระเบียน และรักษาความปลอดภัย เวชระเบียน มีประสิทธิภาพและปลอดภัย
- ระบบเข้าถึงข้อมูล และรักษาความลับ ที่มีประสิทธิภาพ
- ระบบตรวจสอบคุณภาพที่มีประสิทธิภาพและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2.ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
- เวชระเบียน หมาย ถึง แบบบันทึกข้อมูลประวัติส่วนตัว การเจ็บป่วย และการตรวจรักษาทั้งที่เป็นเอกสารและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วยแต่ละ ราย ที่มาขอรับบริการ ตรวจรักษา ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย
- มาตรฐานการบันทึกเวชระเบียน หมาย ถึง คุณภาพการบันทึกเวชระเบียน ตามมาตรฐานสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล มีการสรุปเวชระเบียนตามมาตรฐานของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มาตรฐานการจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคและน้ำหนักสัมพัทธ์ของสำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ และมาตรฐานขององค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ได้แก่แพทยสภา ราชวิทยาลัยแพทย์ต่างๆ และสภาพยาบาล
- การบริหารเวชระเบียน หมายถึง การบริหารระบบบันทึกเวชระเบียน ระบบจัดเก็บที่ปลอดภัย ระบบเข้าถึงและรักษาความลับ และระบบตรวจสอบคุณภาพ
3.1 ระบบการบันทึก
นโยบาย
- การ บันทึกเวชระเบียนมีสองรูปแบบ ได้แก่ เวชระเบียนในรูปแบบเอกสาร ซึ่งบันทึกด้วยลายมือหรือการพิมพ์โดยกำกับด้วยลายมือของผู้เขียนหรือผู้ พิมพ์ และเวชระเบียนที่บันทึกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งกำกับด้วยรหัสของผู้กรอก ทั้งนี้ต้องระบุวันที่ ที่บันทึกด้วยเสมอ
- มาตรฐานข้อมูลที่บันทึกเป็นไปตามชุดข้อมูลตามมาตรฐานขององค์กรวิชาชีพที่ เกี่ยวข้อง ได้แก่ แพทยสภา ราชวิทยาลัยแพทย์ต่างๆ สภาพยาบาล สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล และแนวทางการสรุปเวชระเบียนโดยแพทย์ของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข โดยมีข้อมูลถูกต้อง พอเพียง สำหรับการให้รหัสโรค รหัสหัตถการ
เป้าหมาย
- เพื่อสื่อสารระหว่างทีมผู้ให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วย
- เป็นข้อมุลด้านการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพเป็นประโยชน์ต่อการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง สามารถประเมินคุณภาพของการรักษาพยาบาลได้
- เป็นหลักฐานทางกฎหมายและเป็นข้อมูลสนับสนุนทางการศึกษา วิจัย
ผู้รับผิดชอบ
- แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ รังสีการแพทย์ นักกายภาพบำบัดและเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่มีหน้าที่บันทึกข้อมูลในเวชระเบียน
3.2 ระบบจัดเก็บเวชระเบียน และความปลอดภัย
นโยบาย
- เวชระเบียนที่เป็นเอกสาร
- จัดเก็บตามระบบ Unit decentralized terminal digit เพื่อสะดวกต่อการค้นหา
- ระยะเวลาในการจัดเก็บเวชระเบียน 5 ปี
- สถานที่จัดเก็บ ห้องจัดเก็บเวชระเบียน งานเวชระเบียน อาคารผู้ป่วยนอก
- เวชระเบียนที่เก็บในรูปเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
- เวชระเบียนผู้ป่วยนอกจัดเก็บในโปรแกรม HOSxP
- เวชระเบียนผู้ป่วยใน สแกนเอกสารและจัดเก็บตามระบบเลขที่ AN ของโรงพยาบาล
ผู้รับผิดชอบ
- นายทดสอบ ดูดี
- นายดูดี ทดสอบ
- เจ้าหน้าที่เวชระเบียน
3.3 ระบบเข้าถึงและการรักษาความลับ
นโยบาย
- การกำหนดผู้มีสิทธิและจัดลำดับชั้นการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความลับ
- ผู้มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลในเวชระเบียนได้แก่
- เจ้าหน้าที่งานเวชระเบียน
- แพทย์และทีมดูแลผู้ป่วย
- ผู้ป่วยหรือญาติ ตามแนวทางการขอสำเนาเวชระเบียนผู้ป่วย
- ผู้บริหารและผู้ประเมินคุณภาพโรงพยาบาล
- ศาลและเจ้าหน้าที่ตามกฏหมาย
- นักศึกษาสาขาวิชาชีพด้านสาธารณสุขที่ฝึกปฏิบัติงานโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย
- เจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายงานจากผู้บริหารโรงพยาบาล
- การจำกัดการเข้าถึงข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยที่เป็นความลับ
- ความสะดวก รวดเร็ว
ผู้รับผิดชอบ
- คณะกรรมการสารสนเทศ
- เจ้าหน้าที่เวชระเบียนและสถิติ
3.4 ระบบตรวจสอบคุณภาพข้อมูลเวชระเบียน
นโยบาย
- มีคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพเวชระเบียนของโรงพยาบาล
- มีการตรวจสอบการให้รหัสโรคทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ดังนี้
- ตรวจสอบการให้รหัสโรคเวชระเบียนผู้ป่วยนอก เดือนละ 1 ครั้ง
- ตรวจสอบการให้รหัสโรคเวชระเบียนผู้ป่วยใน เดือนละ 1 ครั้ง
เป้าหมาย
- การบันทึกข้อมูลรหัสโรค รหัสหัตถการในเวชระเบียนผู้ป่วย มีความสมบูรณ์ เป็นไปตามมาตรฐาน
- เพื่อพัฒนาคุณภาพงานรักษาพยาบาล
4. กลุ่มเป้าหมาย
- แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ รังสีการแพทย์ นักกายภาพบำบัดและเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่มีหน้าที่บันทึกข้อมูลในเวชระเบียน
5. ผู้รับผิดชอบ
- คณะกรรมการสารสนเทศ
- คณะกรรมการตรวจสอบเวชระเบียน
- เจ้าหน้าที่เวชสถิติ
6. การติดตามผล
- การประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการสารสนเทศ และคณะกรรมการเวชระเบียน
ที่มา : http://im-hospital.blogspot.com
วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555
ความหมายของ เวชสถิติ จาก สารานุกรม วิกิพีเดีย
เวชสถิติ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
เวชสถิติ (อังกฤษ: Medical Statistics, อ่านว่า เวด-สะ-ถิ-ติ)
หมายถึง สถิติทางการแพทย์ หรือการกระทำกับหลักฐานที่เป็นข้อมูลทางการแพทย์
ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพในทางการแพทย์
โดยมีวิธีการกระทำได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูลทางการแพทย์
การนำเสนอข้อมูลทางการแพทย์
การวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์โดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์
และการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์มาสรุป
และเพื่อใช้ในการจัดทำรายงานทางการแพทย์ การศึกษาวิจัยต่าง ๆ ในทางการแพทย์
[1]เวชสถิติในความหมายทั่วไปทางการแพทย์
เวชสถิติ (อังกฤษ: Medical Record Librarian, อ่านว่า เวด-สะ-ถิ-ติ) หมายถึง ตำแหน่งพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในงานเวชระเบียน ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดการงานทางด้านเวชระเบียนตามที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ สูงสุดทางด้านเวชระเบียนในสถานบริการสาธารณสุขมอบหมาย โดยงานต่าง ๆ เหล่านั้นอาจเป็นงานห้องบัตร งานสถิติทางการแพทย์ งานให้รหัสโรค งานบันทึกข้อมูลผู้ป่วย งานคัดกรองผู้ป่วย งานด้านคอมพิวเตอร์ หรืองานอื่น ๆ ทางด้านเวชระเบียนที่ได้รับมอบหมาย นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงชื่อโรงเรียนที่ทำการเรียนการสอนทางด้านพื้นฐานเวชระเบียน ซึ่งมีชื่อว่า โรงเรียนเวชสถิติ (อังกฤษ: Medical Record Librarian School) ซึ่งจะมีการเรียนทางด้านเวชระเบียน รหัสโรค สรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์ พื้นฐานทางคลินิก วิธีดำเนินการทางการแพทย์ ศัพท์แพทย์ และสถิติ เป็นวิชาหลัก ต่อมาได้มีการพัฒนาการศึกษาทางด้านเวชสถิติซึ่งจะมีการเรียนที่เปลี่ยนชื่อ ไปเป็น เวชระเบียน โดยมีการเปลี่ยนจากโรงเรียนเวชสถิติเดิมไปเป็นสาขาวิชาเวชระเบียน วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข และมีการศึกษาต่อเนื่องในหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเวชระเบียน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล [2][3][4]บุคลากรทางด้านเวชสถิติ
- นักวิชาการเวชสถิติ
- นักเวชสถิติ (ซึ่งอาจมีบางหน่วยงานยังใช้ชื่อตำแหน่ง นักสถิติ ตามที่ ก.พ.กำหนด)
- เจ้าพนักงานเวชสถิติ
- เจ้าหน้าที่เวชสถิติ
อ้างอิง
- ^ แสงเทียน อยู่เถา, เวชสถิติ, มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม, ๒๕๕๑.
- ^ แสงเทียน อยู่เถา, ประวัติการเรียนการสอนด้านเวชระเบียน, มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม, ๒๕๕๑.
- ^ แสงเทียน อยู่เถา, เวชระเบียน, มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม, ๒๕๕๑.
- ^ แสงเทียน อยู่เถา, เวชสถิติ, มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม, ๒๕๕๑.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)